วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เลิกใช้ภาษาวิบัติเถอะ



เลิกใช้ภาษาวิบัติเถอะ

           ภาษาไทยเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรากฐานมาจากออสโตรไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีน มีหลายคำที่ขอยืมมาจากภาษาจีน  
พ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826 มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดแปลงมาจากบาลี และ สันสกฤต
  
            คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง และมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาแต่โบราณกาลและยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปี และจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย

            หากแต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างมาก ความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารกลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการใช้ภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ถูกต้อง อีกทั้งวัยรุ่นกลับมองว่าการใช้ภาษาที่ผิดกลายเป็นเรื่องของแฟชั่นที่ใคร ๆ ก็ทำกันทำให้เกิดภาษาใหม่ที่เป็นที่แพร่หลายบนโลกอินเตอร์เน็ตหรือเรียกว่าภาษาแชท(Chat) ขึ้น และถ้าหากคนในสังคมไทยยังคงใช้ภาษาไทย เขียนภาษาไทยแบบผิดๆ และไม่คิดใส่ใจที่จะใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ต่อไปอาจทำให้เกิดความเคยชินจนติดนำมาใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน จนทำให้ภาษาไทยที่เป็นรากเหง้าของคนไทย ความภาคภูมิใจในภาษาที่บรรพบุรุษคิดค้นขึ้นมา ภาษาที่มีความสวยงาม ก็คงต้องเลือนหายไป และถูกแทนที่ด้วยภาษาแปลกๆที่ผุดขึ้นมาบนโลกอินเตอร์เน็ตอย่างเช่นในปัจจุบัน

            ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำเว็บไซต์ ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องในการสื่อสาร เพื่อย้ำเตือนและให้ความรู้ในการใช้ภาษาไทยที่เป็นภาษาประจำชาติและเป็นความภาคภูมิใจให้คงอยู่ในสังคมไทยสืบไป


หลักการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในอินเตอร์เน็ต



   1.ใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมาย   กล่าวคือ ก่อนนำคำไปเรียงเข้าประโยค ควรทราบความหมายของคำคำนั้นก่อน เช่น คำว่า ปอกกับปลอกสองคำนี้มีความหมายไม่เหมือนกัน คำว่า ปอกเป็นคำกริยา แปลว่า เอาเปลือกหรือสิ่งที่ห่อหุ้มออก แต่คำว่า ปลอกเป็นคำนาม แปลว่า สิ่งที่ทำสำหรับสวมหรือรัดของต่างๆ เป็นต้น ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ 

                “วันนี้ได้พบกับท่านอธิการบดี ผมขอฉวยโอกาสอันงดงามนี้เลี้ยงต้อนรับท่านนะครับ” (ที่จริงแล้วควรใช้ ถือโอกาส เพราะฉวยโอกาสใช้ในความหมายที่ไม่ดี







   2. ใช้คำให้เหมาะสม    เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและเหมาะสมกับบุคคล เช่นโอกาสที่เป็นทางการ โอกาสที่เป็นกันเอง หรือโอกาสที่เป็นภาษาเขียน เช่น  


 “ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านจะคิดยังไง” (คำว่า ยังไง”  เป็นภาษาพูด ถ้าเป็นภาษาเขียนควรใช้อย่างไร”  
 “เมื่อสมชายเห็นรูปก็โกรธ กระฟัดกระเฟียด มาก (ควรใช้ โกรธปึงปัง เพราะกระฟัดกระเฟียดใช้กับผู้หญิง)  
                



   3. การใช้คำลักษณนาม  ใช้คำที่บอกลักษณะของนามต่างๆ ให้ถูกต้อง เช่น ปากกา มีลักษณนามเป็น ด้าม เลื่อย มีลักษณะนามเป็น ปื้น ฤๅษี มีลักษณะนามเป็น ตน เป็นต้น 


                


   4. การเรียงลำดับคำ  เป็นเรื่องที่สำคัญมากในภาษาไทย หากเรียงผิดที่ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ทั้งนี้ เพราะคำบางคำอาจมีความหมายได้หลายความหมายซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จัดเรียงไว้ในประโยค เช่น 


                แม่เกลียดคนใช้ฉัน                             ฉันเกลียดคนใช้แม่ 
                คนใช้เกลียดแม่ฉัน                             แม่คนใช้เกลียดฉัน 
                ฉันเกลียดแม่คนใช้                             แม่ฉันเกลียดคนใช้  



     ข้อบกพร่องในการเรียงลำดับคำมักปรากฏดังนี้ 
 -  เรียงลำดับคำผิดตำแหน่ง เช่น เขาไม่ทราบสิ่งที่ดีงามนั้น ว่า คืออะไร
                (ควรเรียงว่า เขาไม่ทราบ ว่า สิ่งที่ดีงามนั้นคืออะไร                                                                      เรียงลำดับคำขยายผิดที่ เช่น ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย เป็นอย่างสูง 
                (ควรเรียงว่า ขอขอบคุณ เป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ด้วย)                                                          เรียงลำดับคำไม่เหมาะสม เช่น จงไปเลือกตั้งลงคะแนนเสียง นายกสโมสรนักศึกษา 
                (ควรเรียงว่า จงไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกสโมสรนักศึกษา)







   5. แต่งประโยคให้จบกระแสความ   หมายถึงแต่งประโยคให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งส่วนที่เป็นภาคประธานและภาคแสดง ซึ่งประโยคที่จบกระแสความนั้นจะต้องตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ได้ชัดเจน สาเหตุที่ทำให้ประโยคไม่จบกระแสความอาจเกิดจากขาดคำบางคำหรือขาดส่วนประกอบของประโยคบางส่วนไป เช่น 


                เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้ว 
                (ควรแก้เป็น เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้วก็ยังชอบอยู่เหมือนเดิม)







   6. ใช้ภาษาให้ชัดเจน  ใช้ภาษาที่ให้ความหมายเพียงความหมายเดียว เป็นความหมายที่ไม่สามารถจะแปลความเป็นอย่างอื่นได้  เช่น คุณแม่ไม่ชอบคนใช้ฉันอาจแปลได้ 2 ความหมายคือ คุณแม่ไม่ชอบใครก็ตามที่ใช้ให้ฉันทำโน่นทำนี่ หรือคุณแม่ไม่ชอบคนรับใช้ของฉัน ทั้งนี้เพราะคำว่า คนใช้เป็นคำที่มีหลายความหมายนั่นเอง


   7.  ใช้ภาษาให้สละสลวย  ใช้ภาษาอย่างไพเราะราบรื่น ฟังไม่ขัดหู และมีความกะทัดรัด





                ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย หมายถึง การใช้คำที่ไม่จำเป็น หรือใช้คำที่มีความหมายซ้ำซ้อน เช่น  
                                “วันนี้อาจารย์ไม่มาทำการสอน”  
                                คำว่า ทำการเป็นคำที่ไม่จำเป็น เพราะแม้จะคงไว้ก็ไม่ได้ช่วยให้ความหมายชัดเจนขึ้นกว่าเดิม หรือถ้าตัดทิ้ง ความหมายก็ไม่ได้เสียไป ดังนั้นจึงควรแก้ไขเป็น 
                                “วันนี้อาจารย์ไม่มาสอน





                ใช้คำให้คงที่ หมายถึง ในประโยคเดียวกัน หรือในเนื้อความเดียวกัน ควรใช้คำเดียวกันให้ตลอด ดังประโยคต่อไปนี้ 
                                “หมอถือว่าคนป่วยทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน” 
                                (ควรแก้เป็น : หมอถือว่าคนไข้ทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน







                -  ไม่ใช้สำนวนต่างประเทศ  เช่น 


                                “มันเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องจากไป” 
                                (ควรแก้เป็นเขาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจากไป)





 ข้อสังเกตและจดจำในการเขียนภาษาไทย




1. หลักการประวิสรรชนีย์ในภาษาไทย 


- คำที่ขึ้นต้นด้วยกระ/กะ ในภาษาไทยให้ประวิสรรชนีย์ เช่น กระเช้า กระเซ้า กระแส กระโปรง กระทรวง กระทะ กระพริบ กะปิ เป็นต้น




2. คำที่เป็นคำประสมที่คำหน้าก่อนเป็นเสียงอะ ให้ประวิสรรชนีย์ 


            - เช่น ตาวัน เป็น ตะวัน, ฉันนั้น เป็น ฉะนั้น, ฉันนี้ เป็นฉะนี้, หมากม่วง เป็น มะม่วง, สาวใภ้ เป็น สะใภ้, วับวับ เป็น วะวับ, เรื่อยเรื่อย เป็น ระเรื่อย เป็นต้น




 3. คำที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต ตัวท้ายที่ออกเสียง อะ ต้องประวิสรรชนีย์ 





        - เช่น ศิลปะ มรณะ สาธารณะ วาระ เป็นต้น


           

4. คำที่พยัญชนะต้น ออกเสียงอะ แต่ไม่ใช่อักษรนำ ต้องประวิสรรชณีย์ 



        - เช่น ขะมุกขะมอม ขะมักเขม้น ทะเล่อทะล่า เป็นต้น




รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด

          ต่อไปนี้เป็น รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรของ คำที่เขียนถูก ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทยหรือตามประกาศของหน่วยงานราชการไทย

หมายเหตุ: การเขียนสะกดคำในนี้เป็นกรณีทั่วไป แต่ในกรณีเฉพาะ เช่น เป็นวิสามานยนาม อาทิ เป็นชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือในทางร้อยกรอง สามารถเขียนสะกดคำแตกต่างได้



คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ก็
ก้อ

กงเกวียนกำเกวียน
กงกำกงเกวียน
กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน
กงศุล
"กงสุล" มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า "consul"
กฏ
กฎ ทุกอย่าง ใช้ ฎ ชฎา ยกเว้น ปรากฏ ใช้ ฏ ปฏัก ส่วน กรกฎ/กรกฏ สะกดได้ทั้งสองแบบ
กบฎ, กบถ
- "กบฏ" ใช้ ฏ ปฏัก
- ในสมัยโบราณ เคยสะกดด้วย ฎ ชฎา (ดู พจนานุกรมกฎหมาย ของ ขุนสมาหารหิตะคดี)
-
ถ้าออกเสียง "ขะ-บด" เขียน "ขบถ"
กบาล, กระบาล
กะบาล, -บาน
ใช้เรียกศีรษะ แต่ไม่สุภาพ
กรรมกร
กรรมกรณ์
- "กรรมกร" = คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน
- "กรรมกรณ์" = อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ฯลฯ มักสลับกัน
กรรมกรณ์
กรรมกร
- "กรรมกร" = คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน
- "กรรมกรณ์" = อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ฯลฯ มักสลับกัน
กะเพาะ, กะเพราะ, กระเพราะ
ระวังสับสนกับ กะเพรา
กิริยา
"กริยา" (กฺริ-) คือ คำชนิดหนึ่ง บอกอาการ การกระทำ เช่น เดิน วิ่ง เขียน เหล่านี้ คือ คำกริยา
กรีธา, กรีทา
กีฬาอย่างหนึ่ง มักสลับกัน
กรีธา
กรีฑา
เคลื่อน ยก เดินเป็นหมู่หรือเป็นกระบวน เช่น กรีธาทัพ มักสลับกัน
กลยุทธ, กลยุทธิ, กลยุทธิ์

กลางคัน
กลางครัน

กลิ่นอาย
กลิ่นไอ

กสิน

กเฬวราก
กเลวราก

กอปร
กอป, กอปร์
อ่านว่า "กอบ"
กลอฟ, กอลฟ์, ก็อลฟ์, ก็อล์ฟ, ก๊อลฟ์, ก๊อล์ฟ

กะทันหัน
กระทันหัน

กระเทย

กะเทาะ
กระเทาะ

กะบังลม
กระบังลม

กะปิ
กระปิ

กะพง
กระพง

กะพริบ
กระพริบ

กะพรุน
กระพรุน

กะเพา, กระเพา, กระเพรา
ระวังสับสนกับ กระเพาะ
กะล่อน
กระล่อน

กะละมัง
กาละมัง

กลาสี

กาละแม, กาลาแม, กาละแมร์

กะหรี่
กระหรี่

กะเหรี่ยง
กระเหรี่ยง

กะหล่ำ
กระหล่ำ

กระโหลก
จำไว้ว่า กะโหลก กะลา
กังวาน
กังวาล

กันทรลักษณ์, กัณ-

กันแสง
กรรแสง, กรรณแสง

กาลเทศะ
กาละเทศะ

กาลเวลา
กาฬเวลา
กาล หมายถึง เวลา , กาฬ แปลว่า รอยดำ หรือ แดง
กาฬสินธ์, กาล-

กำเหน็จ
กำเน็จ, กำเหน็ด

กิตติมศักดิ์
กิติมศักดิ์, เกียรติมศักดิ์

กินนรี
แต่ "กิน-นอน" เขียน 'กินนร'
กริยา
"กิริยา" คือ อาการ การกระทำ เช่น ปฏิกิริยา
กุฎี, กุฏิ
กุฎ, กุฎิ
"กุฏิ" อ่านว่า "กุด" หรือ "กุด-ติ" , ถ้าต้องการอ่าน "กุ-ดี" ต้องเขียน "กุฎี" (ใช้คำไหนก็ได้)
กู
กรู
คำสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง
เกมส์
ในภาษาไทยสำหรับกรณีทั่วไปจะไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบคำใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าสื่อความหมายถึงเอกพจน์หรือพหูพจน์
เว้นแต่เป็นการทับศัพท์วิสามานยนาม เช่น "SEA Games" ว่า ซีเกมส์
เกร็ดเลือด

เกษียณ
เกษียน, เกษียร
เกษียณ = สิ้นไป เช่นเกษียณอายุ; เกษียน = เขียน; เกษียร = น้ำนม
เกษร
ส่วนในของดอกไม้
เก๊าท์

เกียรติ
เกียตร, เกียรต, เกียรต์, เกียรติ์
อ่านว่า "เกียด", ถ้าเขียน "เกียรติ์" อ่านว่า "เกียน" เช่น รามเกียรติ์
แก๊งค์, แก๊งก์
"แก๊ง" มาจากภาษาอังกฤษว่า "gang" ในภาษาไทยเป็นภาษาปาก หมายความว่า "กลุ่มคนที่ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า (มักใช้ในความหมายไม่ดี) เช่น แก๊งโจร แก๊งอันธพาล"
แกร็น
แกน, แกรน
ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช), เช่น แคระแกร็น

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ขบถ
ขบฏ
ดู กบฏ
โขมย

ขวาญ

ขะมักเขม้น
ขมักเขม้น

ขัณท-, ขันท-, ขันฑ-

ขาดดุล
ขาดดุลย์
ดู "ดุล", "สมดุล"
ข้าวเหนียวมูน
ข้าวเหนียวมูล
มูน = เอากะทิเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้มัน
ขี้เกียจ
ขี้เกลียด, ขี้เกียด

คึ่น-, -ช่าย, -ไฉ่, -ไช่

เขยก
ขเยก, ขะเหยก

ไข่มุกข์, ไข่มุกด์, ไข่มุข


ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ "ฃ" โดยหันไปใช้ "ข" แทน เช่น "ฃวด" ก็ใช้เป็น "ขวด" เป็นต้น

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
คฑา, คธา

ฅน
ฅ ไม่เคยใช้เขียนคำว่า ฅน
ครรไล
ครรลัย

ครองราชย์
ครองราช
คำว่า "ราชย์" หมายถึง ความเป็นราชา, "ครองราชย์" จึงหมายถึง ครองความเป็นราชา
ทั้งนี้ คำว่า "ครองราชสมบัติ" หมายความว่า ครองสมบัติของพระราชา ก็คือ ครองความเป็นราชา (มิใช่ "ครองราชยสมบัติ" อันแปลว่า ครองสมบัติแห่งความเป็นพระราชา)
คริสต์กาล
ใช้ตามโบราณ
คริสต์จักร
ใช้ตามโบราณ
คริสตทศวรรษ
ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา
คริสตศตวรรษ
ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา
คริสตศักราช

คริสตศาสนา
ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา
คริสตศาสนิกชน

คริสตมาส

ครุท

ครุภัณฑ์
คุรุภัณฑ์

คุรุศาสตร์

คฤหาสถ์
คฤห + อาสน
คลิ้ก, คลิ๊ก

คลีนิก, คลินิค

ฆ้อน

คะ
ค๊ะ

คะนอง
คนอง

คัดสรร
คัดสรรค์

คาร์ฟ, คราฟ, คาร์พ, คราพ
ชื่อปลา ทับศัพท์มาจาก carp
คารวะ
เคารวะ

คำนวน

คำสดุดี
คำดุษฎี

คุ้กกี้, คุ๊กกี้
ออกเสียง คุก โดยไม่ต้องใส่วรรณยุกต์
คุรุศึกษา
ครุศึกษา

เค็ก, เค๊ก

เคลียด

เครื่องลาง

แค็ตตาล็อก
แคตตาล็อก, แคตาล็อก

แค็บ-, แคป-, แค็ป-

แคระแกร็น
แคะแกน, แคะแกรน, แคระแกน, แคระแกรน
ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช)
โค่ง
โข่ง
โข่ง = เปิ่น ไม่เข้าท่า / โค่ง = โตกว่าเพื่อน
โคตร
โครต, โคต, โคด

โครงการณ์
การ คือ งาน
โควต้า
ออกเสียง คว ควบกล้ำ และออกเสียง ต้า โดยไม่ต้องใส่วรรณยุกต์
คอลัมน์
คอลัมม์

ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ "ฅ" โดยหันไปใช้ "ค" แทน เช่น "ฅอ" ก็ใช้เป็น "คอ" เป็นต้น

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ฆรวาส, ฆารวาส, -วาท

ฆาตรกร
ฆาต แปลว่า ฆ่า, ทำลาย หรือ ตี
ฆาตรกรรม
ฆาต แปลว่า ฆ่า, ทำลาย หรือ ตี
เฆี่ยน
เคี่ยน
- "เฆี่ยน" = ตีด้วยหวายหรือไม้เรียวเป็นต้นเป็นการลงโทษ เป็นต้น
- "เคี่ยน" ไม่มีความหมาย

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
งบดุลย์
ไม่ใช่ ดุลย์
งูสวัส, งูสวัสดิ์


คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
จงกลม
การฝึกสมาธิ
จรเข้
เครื่องดนตรีไทย เรียก จะเข้; ชื่อสถานที่บางแห่งยังสะกดว่า จรเข้ อยู่เช่น คลองจรเข้บัว ตำบลจรเข้สามพัน ตำบลจรเข้ร้อง
จลศาสตร์

จราจล
มาจากคำ จล + อจล
จงอย

จะจะ
จะ ๆ
คำมูลสองพยางค์
จาละเม็ด, จาระเม็ด, จรเม็ด, จระเม็ด

จั๊กจั่น

จักร์

จักรพรรดิ์
อ่านว่า "จัก-กฺระ-พัด"
จักรวรรดิ์
อ่านว่า "จัก-กฺระ-หวัด"
จักรสาน
เครื่องใช้ที่ทำด้วยมือ
จาระไน
จารไน

จารบี

จำนง
จำนงค์
แผลงจาก "จง"
จินตนาการ
จินตะนาการ, จินตรนาการ

จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ปัจจุบันใช้แบบมีทัณฑฆาตตามที่ได้รับพระราชทาน (ขัดหลักคำสมาส)
เจตจำนง
เจตจำนงค์
จำนง แผลงจาก จง
เจตนารมณ์
เจตนารมย์

เจียระไน
เจียรไน

โจทย์
โจทก์ หมายถึง ผู้ฟ้องร้องในศาลกล่าวหาจำเลย โจทย์ หมายถึง ปัญหา เช่น โจทย์เลข
ใจ
จัย


คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ฉบับ
ฉะบับ

ฉะนั้น
ฉนั้น

ฉะนี้
ฉนี้

ฉัน
ฉันท์
เสมือน เช่น ฉันญาติ ฉันมิตร; รับประทาน ใช้กับพระสงฆ์
ฉันท์
ฉัน
ความพอใจ หรือร้อยกรองประเภทหนึ่งมีบังคับครุลหุ
เฉพาะ
ฉะเพาะ, ฉเพาะ

ไฉน
ฉไน


คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ชมภู

ชมภู่

ชนี

ชมด

ชะลอ
ชลอ

ชัชวาล
ชัชวาลย์

ชีพิตักษัย
ชีพตักษัย

ชีวะประวัติ
สมาสแล้วลบวิสรรชนีย์

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ซวดเซ
ทรวดเซ

ซ่องเสพ
ส้องเสพ

ซาบซ่าน
ทราบซ่าน, -ส้าน

ซาบซึ้ง
ทราบซึ้ง

ซาละเปา, ซะละเปา

ซาวเสียง
ซาวด์เสียง, ซาวน์เสียง, ซาวนด์เสียง
หยั่งเสียงเพื่อฟังความคิดเห็น
ซีเม็นต์, ซีเมนท์, ซีเม็นท์, ซีเม็น

ซุ่ม
สุ่ม, สุ้ม
ซุ่ม = ซ่อน, แอบซ่อนคอยทีอยู่ / สุ่ม = เครื่องมือจับปลา, เครื่องสานครอบขังไก่, ไม่เฉพาะเจาะจง
ซุ้ม
สุ้ม
สิ่งที่เป็นพุ่มมีทางลอดได้, ส่วนบนของประตูหน้าต่าง
เซ็นชื่อ
เซ็นต์ชื่อ
จากคำอังกฤษ sign, ไม่มี ต การันต์
เซ็นติเมตร

ไซ้
ไซร้
ไซ้ = กิริยาที่นกหรือเป็ดเอาปากยํ้า ๆ ขนหรือหาอาหาร ฯลฯ, เช่น เป็ดไซ้ขน
ไซร้ = คําสําหรับเน้นความหมายของคําหน้า, เช่น ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัด
โซม
โทรม
โซม = เปียกทั่ว, เช่น เหงื่อโซมตัว
โทรม = เสื่อมสภาพ, ระดมฟันแทง, ร่วมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง ฯลฯ

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ฌาณ

ฌาปนกิจ
ฌาปณกิจ

กะเฌอ


คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ญวณ

ญัติ

ญาน

ญาต


คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ฏีกา
ใช้ ฎ ชฎา ตัวอักษรที่คล้ายกันทำให้เกิดความสับสน

ปัจจุบันไม่มีคำที่ขึ้นต้นด้วย "ฏ"

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ฐาณ



ไม่มีคำที่เขียนผิด

ไม่มีคำที่เขียนผิด สำหรับ "เฒ่าแก่" และ "เถ้าแก่" ใช้ได้ทั้งสองคำ

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ณ.
อ่านว่า "นะ" มีความหมายว่า ที่
ในการเขียน ไม่มีจุดข้างหลังเพราะมิใช่คำย่อ แต่ "ณ" แผลงรูปมาจาก "ใน" และมักเว้นวรรคหน้าวรรคหลัง "ณ" ด้วย เช่น "อยู่ ณ ที่นี้"

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ดอกจันท์, ดอกจันทน์, ดอกจันทร์
เครื่องหมาย *, ดอกของต้นจัน
ดอกจัน, ดอกจันท์, ดอกจันทร์
รกหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ
ดอกไม้จัน, ดอกไม้จันท์, ดอกไม้จันทร์
ดอกไม้ประดิษฐ์สำหรับงานเผาศพ
ดัชต์, ดัชท์, ดัทช์

ดาดตะกั่ว
ดาษตะกั่ว

ดาษฟ้า

ดาษดื่น
ดาดดื่น

ดำรง
ดำรงค์

ดำริ
ดำหริ, ดำริห์
อ่านว่า "ดำ-หริ", โบราณเขียน "ดำริห์"
ดุล
ดุลย์
"ดุล" เป็นคำนามแปลว่า ความเท่ากัน หรือความเสมอกัน, ส่วน "ดุลย์" เป็นคำวิเศษณ์แปลว่า เท่ากัน หรือเสมอกัน
ดุษณี
โดยดุษฎี
ดุษณี หมายถึง นิ่ง
ดุษฎี หมายถึง ยินดี
มักใช้สลับกัน เช่น ในถ้อยคำว่า "ยอมรับโดยดุษณี"
เดินเหิน
เดินเหิร
โบราณเขียน "เหิร"
แดก
แดรก, แด่ก, แดร่ก, แด๊ก
เป็นภาษาปาก หมายถึง กิน หรือ พูดกระทบให้โกรธ ฯลฯ

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ตรรกะศาสตร์

ตรรกะ, ตรรก-
ตรรกกะ

ตราสังข์

ตรึงตรา
ตรึงตา
หมายถึง ติดแน่น
ตระกร้า

ตาราง
ที่คุมขัง
ตาลขโมย

ตะราง
ช่องสี่เหลี่ยม
ตำรับ
ตำหรับ

ไต้
ใช้แสดงตำแหน่ง เช่น ใต้โต๊ะ ภาคใต้ แสงใต้ (ออโรรา)
ใต้เท้า
ไต้เท้า
เปรียบเหมือนเราอยู่ข้างใต้ เท้าของผู้มีอำนาจบารมี ทำนองเดียวกับ ใต้ฝ่าพระบาท ฯลฯ
ใต้
หมายถึงคบเพลิง เช่น ขี้ไต้ จุดไต้ตำตอ น้ำตาแสงไต้ หรือใช้ทับศัพท์ภาษาอื่น
ไต้ก๋ง
ใต้ก๋ง
นายท้ายเรือสำเภาหรือเรือประมง ทับศัพท์จากภาษาจีน
ใต้ฝุ่น
ทับศัพท์มาจาก typhoon
ไตรยางค์

ใต้หวัน
ทับศัพท์จากภาษาจีน

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ถนนราดยาง
ลาด หมายถึง ปู
ถ่วงดุล
ถ่วงดุลย์

ถั่วพลู
ถั่วที่ด้านข้างมีรอยเป็นพู
เถา
เถาว์

ไถ่ตัว
ถ่ายตัว
เรียกค่าไถ่ ก็ใช้คำนี้

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ทโมน
ทะโมน, โทมน

ทยอย
ทะยอย

ทะแยง, แทยง

ทรงกลด
ทรงกรด

ทรมาทรกรรม
ทรมานทรกรรม

ทรราช
ทรราชย์
- ทรราช = ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจสร้างความเดือดร้อน, ตามรากศัพท์หมายถึง ราชาชั่ว แต่สามารถใช้ได้กับทั้งที่เป็นราชาและไม่เป็นราชา
- ทรราชย์ = รูปแบบ ระบบ หรือลัทธิการปกครองแบบทรราช
ทระนง, ทะนง
ทรนง, ทนง

ทลาย
ทะลาย
พังทลาย ถล่มทลาย
ทศกัณฑ์
กัณฑ์ แปลว่า คำเทศน์ตอนหนึ่ง; กัณฐ์ แปลว่า คอ
ทอนซิล
ทอมซิน

ทะนุถนอม
ทนุถนอม

ทะนุบำรุง, ทำนุบำรุง
ทนุบำรุง

ทะลาย
ทลาย
ช่อผลของมะพร้าว
ทะเลสาป

ฑัณฑ์

ทายาด
ทายาท
ทายาด = ยิ่งยวด เช่น ทนทายาด
ทายาท = ผู้สืบสกุล
ทายาท
ทายาด, ทาญาติ
ทารุณ
ทารุน

ทีฆายุโก
ฑีฆายุโก
ทีฆายุ หมายถึง อายุยืนยาว
ทุกขกิริยา, ทุกขรกิริยา
หมายถึง กิจที่ทำได้ยาก
ทุคติ
ทุกข์คติ

ทุพพลภาพ
ทุพลภาพ

ทุพภิกขภัย
ทุภิกขภัย
ทุส + ภิกขภัย, เปลี่ยน ส เป็น พ ตามหลักการสมาส
ทุศีล
ทุจศีล

ฑูต
ทูตทุกอย่าง ใช้ ท ทหาร
ทูนหัว
ทูลหัว
พ่อทูนหัว แม่ทูนหัว
ทูลกระหม่อม
ทูนกระหม่อม

เท่
เท่ห์

เทพนม
เทพพนม
เทว + นม ไม่ใช่ เทพ + พนม
เทเวศร์
เทเวศ, เทเวศน์
เทว + อิศร
เทโวโรหนะ
ใช้ ณ เณร มาจาก เทว + โอโรหณ
เทอญ
เทิญ

เทอม
เทิม, เทิร์ม

เท้าความ
ท้าวความ
เขียนเหมือน "เท้า"
เทิด
เทอด

เทิดทูน
เทิดทูล

แท๊กซี่

แทรกแซง
แซกแซง

โทรทัศน์
กล้องส่องทางไกล
โทรทรรศน์
เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง
โทรม
โซม
โทรม = เสื่อมสภาพ, ระดมฟันแทง, ร่วมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง ฯลฯ
โซม = เปียกทั่ว, เช่น เหงื่อโซมตัว
โทรศัพย์


คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ธนาบัตร

ธนานัติ, ธนาณัต

ทำเนียม
ในหนังสือเก่า ๆ เขียน "ทำเนียม" ก็มี, แต่ปัจจุบัน ใช้ "ธรรมเนียม" (มาจาก ธรรม + นิยม)
ธัญญพืช

ธำมรงค์
ธำมรง, ทำมะรงค์
แปลว่า "แหวน"
ธำรง
ธำรงค์

ธุระกิจ
คำสมาส หรือใช้ กิจธุระ

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
นพปฎล
นพปดล
แปลว่า เก้าชั้น
นภดล
นพดล
เว้นแต่ "นพดล" ที่เป็นชื่อเฉพาะ
นวตกรรม

น็อต, น๊อต
ทับศัพท์จาก nut ในภาษาอังกฤษที่หมายถึงอุปกรณ์ช่าง
นะ
น๊ะ
ออกเสียงวรรณยุกต์ตรี โดยไม่ปรากฏรูป
นะคะ
นะค่ะ, นะค๊ะ
คะ เป็นเสียงตรี ไม่ต้องใช้ไม้ตรี ในขณะที่ ค่ะ เป็นเสียงโท
นันทนาการ
สันทนาการ

นัย
นัยยะ
อ่านได้ทั้ง ไน และ ไน-ยะ
นัยตา

น่า
หน้า
คำประกอบหน้ากริยา หมายความว่า ควร เช่น น่าจะทำอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้; ชวนให้, ทำให้อยากจะ, เช่น น่ากิน น่ารัก
นาฎกรรม
ใช้ ฏ ปฏัก
นาฑี
นาฑี เป็นภาษาสันสกฤต พบบ้างในหนังสือเก่า ปัจจุบันพจนานุกรมให้สะกดแบบเดียวเท่านั้น
นานัปการ
นานับประการ

นานา
นา ๆ
คำมูลสองพยางค์
น้ำจัณฑ์
น้ำจัน

น้ำมันก๊าด
น้ำมันก๊าซ, -ก๊าส

น้ำแข็งใส
หมายถึงการนำน้ำแข็งไปไสบนกบ จนได้เกล็ดน้ำแข็ง เป็นวิธีทำแบบดั้งเดิม
นิจศีล
นิจสิน

นิตยาสาร

นิเทศ
นิเทศน์, นิเทส

นิมิตร, นิรมิตร

นิเวศน์วิทยา

เนรมิต
เนรมิตร

เนืองนิตย์
เนืองนิจ

แน่นหนา
หนาแน่น
- "แน่นหนา" ว่า มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา มีหลักฐานมัดตัวแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่างแน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา.
- "หนาแน่น" ว่า คับคั่ง, แออัด, เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรหนาแน่นมาก.
โน๊ต, โน้ท, โน๊ท
อักษรต่ำ ไม่ใส่ไม้ตรี

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
บันทัด

บรรทุก
บันทุก

บรรลุ
บันลุ

บรรเลง
บันเลง

บะหรั่นดี

บริสุทธิ์
บริสุทธ, บริสุทธิ

บล็อค, บล๊อก
หลักการทับศัพท์
บ่วงบาศก์, บ่วงบาต, บ่วงบาท

บรเพ็ด, บอระเพชร

บังสกุล

บังเอิญ
บังเอิน

บัญญัติไตรยางค์
เหมือน ไตรยางศ์
บัตรสนเท่ห์
บัตรสนเท่

บันดาล
บรรดาล

บรรได

บรรเทิง

บันลือ
บรรลือ

บางลำภู

บาททะยัก, บาดทยัก

บาต
เครื่องใช้อย่างหนึ่งของพระสงฆ์
บาทบงสุ์
บาทบงส์
อ่านว่า บาด-ทะ-บง
บาดหลวง

บำเหน็จ
บำเน็จ

บิณฑบาตร, บิณฑบาท

บิดพลิ้ว
บิดพริ้ว

บุคล

บุคลากร
บุคคลากร

บุคคลิกภาพ

บุปผชาติ
บุปผาชาติ

บุษราคำ

บูชายัน, บูชายันต์

บูรณปฏิสังขรณ์
บูรณะปฏิสังขรณ์
คำสมาส
เบญจเพส
เบญจเพศ
เพส มาจากคำว่า วีสะ=20 เบญจ =5, เบญจเพส = 25
เบ็นซิน, เบนซิล

เบรค
ศัพท์บัญญัติ หรือใช้คำว่า ห้ามล้อ

คำที่เขียนถูก
มักเขียนผิดเป็น
หมายเหตุ
ปฏิกริยา

ปฏิสันถาร
ปฏิสัณฐาน, ปฏิสันถาน

ปติทิน

ปฏิพัทธ์
ประติพัทธ์

ปฏิสังขร

ปฐมนิเทศก์, ปฐมนิเทศน์

ปณิธาน, ประณิธาน
ปนิธาน, ประนิธาน
ตั้งใจไว้
ปรนนิบัติ
ปรณนิบัติ

ปรมณู
ปรม + อณู
ปรองดอง
ปองดอง

ประกายพฤกษ์

ประกาศณียบัตร

ประกาศิต
ประกาษิต

ประจัญ
ประจัน
ประจัญ = ปะทะต่อสู้ (เช่น ประจัญบาน = รบอย่างตะลุมบอน), แผลงมาจากคำเขมรว่า "ผจัญ" (ผฺจาญ่)
ประจัน = กั้นเป็นส่วนสัด (เช่น ฝาประจันห้อง = ฝากั้นห้อง), เผชิญ (เช่น ประจันหน้ากัน), ฯลฯ
ประจัญบาน
ประจันบาน, ประจันบาล, ประจัญบาล
ประจันหน้า
ประจัญหน้า
ประจันห้อง
ประจัญห้อง
ประจำการ
ประจำการณ์

ประณต
ประนต
(กริยา) น้อมไหว้
ประณม
ประนม
(อาการนาม) การน้อมไหว้
ประณาม
ประนาม

ประณีต
ปราณีต, ประนีต

ประดิดประดอย
ประดิษฐ์ประดอย

ประนีประนอม
ประณี-, ปรานี-, ปราณี-,
-ประณอม, -ปรานอม, -ปราณอม

ประมาน

ประเมิณ

ประโยชน์โพดผล[1]
ประโยชน์โพธิผล,
ประโยชน์โภชผล,
ประโยชน์โภชน์ผล

ประสพการณ์
• "ประสบ" เป็นคำกริยาแปลว่าพบหรือพบปะ
ส่วน "ประสพ" เป็นคำนามมีความหมายว่าการเกิดผล
ในภาษาไทยจึงใช้ "ประสบ" เพียงรูปเดียว เช่น ประสบความสำเร็จ ประสบการณ์ ประสบอุทกภัย ประสบโชค
ประสบผลสำเร็จ, ประสบความสำเร็จ
ประสพผลสำเร็จ, ประสพความสำเร็จ
ประสูต, ประสูตร

ประสูติการ
ประสูติกาล
การคลอด เช่น มีพระประสูติการ
ประสูติกาล
ประสูติการ
เวลาคลอด เช่น พระประสูติกาลตก ณ วัน 4 ขึ้น 1 เดือน 6 ย่ำรุ่ง 2 นาฬิกา เศษสังขยา 5 บาท
ประหลาด
ปะหลาด, ปลาด

ประหัตประหาร
ประหัดประหาร, ประหัตถ์ประหาร

ประหาณ, ปหาน
ประหาร
ประหาณ, ปหาน = ละทิ้ง เช่น สมุจเฉทประหาณ (การตัดขาดและการละทิ้ง), ปหานกิเลส (ละทิ้งกิเลส)
ประหาร = ตี ฟัน ทำลาย หรือ ฆ่า เช่น ประหารชีวิต
ประหาร, ปหาร
ประหาณ, -หาน, ปะ-
ปรัมปรา
ปรำปรา, ปะรำปะรา
อ่านว่า ปะ-รำ-ปะ-รา
ปรัศนีย์

ปรากฏ
ปรากฎ
ใช้ ฏ ปฏัก
ปราณี
ปรานี
ปราณี = ผู้มีลมปราณ หมายความว่า ผู้มีชีวิต หรือสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ และคน
ปรานี = เอ็นดูด้วยความสงสาร
ปรานี
ปราณี
ปรานีปราศรัย
ปราณีปราศัย

ปรารถนา
ปราถนา
อ่านว่า "ปราด-ถะ-หนา"
ปราศจาก
ปราศจาค

ปราศรัย
ปราศัย

ปล้นสะดม
ปล้นสดมภ์
สะดม = รมยาให้หลับ
สดมภ์ = เสาหรือช่องตามแนวตั้ง
ปวารนา

ปะทะ
ประทะ

ปะแล่ม
ปแล่ม, แปล่ม

ปักษิน
ปักษิณ

ปาฏิหาร, ปาฏิหารย์

ปาฏิโมกข์

ปาริชาติ
ชื่อบุคคลจำนวนมากยังใช้ ปาริชาติ อยู่
ปิคนิค
คำทับศัพท์
ปุโลหิต

เปอร์เซนต์
คำทับศัพท์
เป๋อเหลอ
เป๋อเล๋อ
อักษรต่ำ ไม่ใช้วรรณยุกต์จัตวา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น