วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1


การติดต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต


ผังสาระการเรียนรู้





ความหมายของอินเตอร์เน็ต


 อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด

  ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่

คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ตอาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์


พื้นฐานการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต


                การสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นเป็นการรับ-ส่งข้อมูลหรือที่เรียกว่า การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อและต้องการสื่อสารข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆในเครือข่าย อาจจะมีฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันและแปลความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกันซึ่งเรียกว่า โพรโทคอล (Protocol)
                โพรโทคอล คือ ระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยโพรโทคอลนั้น มีหลายชนิด เช่น โพรโทคอล IPX/SPX โพรโทคอล NetBEUI และโพรโทคอล Apple Talk ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานต่างกัน ดังนั้น การสื่อสารระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ข้อตกลงโพรโทคอลเช่นเดียวกันซึ่งโพรโทคอลที่นิยมใช้ในการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นโพรโทคอลทีซีไอพี      (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)เป็นหลัก
                 จุดเด่นของโพรโทคอล ทีซีพีไอพี (TCP/IP) คือเมื่อการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปการณ์ใดๆ เข้าสู่ระบบเครือข่ายที่เป็นทีซีพีไอพี (TCP/IP) นั้น คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ติดต่อสื่อสารร่วมกันจะต้องมีหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายกำกับเสมอ เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูลต้นทางและนำข้อมูลไปยังเครือข่ายเครื่องปลายทางที่ถูกต้อง ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารจะต้องมีการระบุหมายเลขขอเครื่องต่างๆที่ไม่ซ้ำกันไม่เช่นนั้นข้อมูลก็อาจจะไม่ถึงที่หมายปลายทางได้ หมายเลขของเครื่องหรืออุปกรณ์นี้เรียกว่า ไอพี (IP) โดยหมายเลขกำกับที่เป็นหมายไอพี จะเป็นเลขฐาน 2 ขนาด 32 บิต เลขแต่ละชุดจะถูกคั่นด้วยจุด ดังนั้น เลขแต่ละชุดจึงสามารถมีค่าตั้งแต่ 0-255
จากหมายเลขไอพี ขนาด 32 บิต ที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นไอพีเวอร์ชัน 4 สามารถใช้อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ตได้มากถึงสี่พันล้านเครื่องโดยประมาณซึ่งเป็นจำนวนที่มากหมายมหาศาลจากในอดีต แต่ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น จึงทำให้หมายเลขไอพีที่ใช้ในปัจจุบันเริ่มไม่เพียงพอเนื่องจากการขยายตัวของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุกรณ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการพัฒนาเป็นไอพีเวอร์ชัน 6 ซึ่งกำหนดโดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชัน 4 และมาตรฐานไอพีเวอร์ชัน 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิต ในการระบุหมายเลขไอพี

ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System)


Domain Name คือชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้ ชื่อ Domain Name จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก ไม่แตกต่างกันเพราะ ระบบอินเตอร์เน็ตจะรับรู้ตัวอักษรเป็นตัวเล็กทั้งหมด เช่น ITTradefair.com และ ittradefair.com ถือว่าเป็นชื่อเดียวกัน



Domain Name ทำงานอย่างไร



        ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะใช้กลุ่มตัวเลข 4 กลุ่มที่คั่นด้วยจุด (ตัวเลขในแต่ละกลุ่มจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255) เช่น 203.33.192.255 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ IP Address ในการระบุตำแหน่งของ Website ต่างๆ เพื่อให้รู้ว่าอยู่บนเครื่องใดและอยู่ในเครือข่ายใด แต่เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลขซึ่งยากแก่การจดจำดังนั้นจึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะใช้ชื่อหรือกลุ่มของตัวอักษร ซึ่งก็คือ Domain Name ในการอ้างอิงแทน โดยจะอาศัย DNS Server มาช่วยจับคู่ IP Address และ Domain name เข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อมีผู้ต้องการที่จะเรียกดู Website ของท่าน ไม่ว่าจะทราบ IP Address หรือ Domain name เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ผิดพลาด


 การเตรียมการเพื่อจดชื่อโดเมน 

            ชื่อโดเมนที่ต้องการจดทะเบียน ผู้ให้บริการจดโดเมน ที่ต้องการไปจะจดกี่ปี ค่าบริการเท่าไรเจ้าของชื่อโดเมน (Registrant) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ถ้าหากเป็นองค์กร ให้ใส่ชื่อองค์กรผู้ดูแลชื่อโดเมน (Administrative Contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ผู้ติดต่อทางเทคนิคโดเมน (Technical Contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจดโดเมน (Billing Contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์



ชื่อและเลขที่อยู่ไอพี



     คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ตจะมีเลขที่อยู่ไอพี (IP-Address) และแต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องมีเลขที่อยู่ไอพีไม่ซ้ำกัน เลขที่อยู่ไอพีนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้ แต่ละองค์กรนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้นและการบริหารเครือข่ายทำได้ดี จึงมีการกำหนดชื่อแทนเลขที่อยู่ไอพี เรียกว่า ชื่อโดเมน โดยจะมีการตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่บนเครือข่าย เช่นphiboon.org ซึ่งใช้แทนเลขที่อยู่ไอพี 202.142.221.5  การกำหนดให้มีการใช้ระบบชื่อโดเมนมีการกำหนดรูปแบบเป็นลำดับชั้น เช่น




Domain Name  .com หรือ .net และ .net.th แตกต่างกันอย่างไร



        ระบบของ Domain Name จะมีการจัดแบ่งออกเป็นหลาย Level โดยเริ่มตั้งแต่ Top Level ซึ่งประกอบด้วย




Generic Domain (gTLD) 
      ซึ่งได้แก่ Domain Name ที่ลงท้ายด้วย .com (Commercial),
.net (Networking), 



บริการในระบบอินเตอร์เน็ต

           บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีแหล่งที่ให้บริการข้อมูล ข่าวสาร บทความรายงาน ผลงานวิจัยและความบันเทิงด้านต่างๆรูปแบบการให้บริการบนอินเตอร์เน็ต มีดังนี้

                1.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail)
                    เป็นการรับ ส่งจดหมายถึงกันผ่านเครือข่าย อินเตอร์เน็ต การส่งเอกสารข้อความมีลักษณะเหมือนการส่งจดหมาย แต่ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานให้เองโดยอัตโนมัติทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว สามารถติดต่อกันได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคที่ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีที่อยู่ (E-mail address) เช่น san@kku.ac.thscha@rayongwit.ac.th , mjeeb@oho.ipst.ac.th,webmaster@thaigoodview.com

                2.การถ่ายโอนข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)
                   เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร บทความ รวมถึงแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในกรณีที่โอนย้ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนอินเตอร์เน็ต มาลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า ดาวน์โหลด  (download) ส่วนกระบวนการนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่ง ไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนอินเตอร์เน็ตเรียกว่า อัพโหลด (upload)

                3. การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น (telnet)
                    ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบอื่นๆในที่ห่างไกล ช่วยให้ผู้ใช้ ไม่ต้องเดินทางไปที่เครื่องนั้นๆ 

                4.โกเฟอร์ (gopher)
                    บริการค้นหาไฟล์และฐานข้อมูลเป็นบริการที่คล้ายกับ FTP แต่การจัดเก็บสารบบรายการแฟ้มข้อมูล และไอคอนของโกเฟอร์
จะมีความเป็นระเบียบและแสดงรายละเอียดได้ดีกว่า FTP ซึ่งเสมือนกับตู้บัตรคำในห้องสมุดที่สามารถค้นหาข้อมูล โดยการระบุชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อที่เกี่ยวข้อง

                5.การสนทนา (chat) และข่าวสาร (Usenet)
                   เป็นการจัดเก็บข่าวสารที่ส่งไปไว้ในคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลาง โดยที่ทุกคนสามารถเข้าไปอ่านข่าวสาร มีการจัดกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและแสดง ความคิดเห็นในหัวข้อต่างๆผ่านทางอินเตอร์เน็ต

                6.เวิร์ลไวด์เว็บ  (World  Wide  Web : WWW)
                   เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลข่าวสารเข้าหากันและครอบคลุมทั่วโลก ลักษณะของข้อมูล ที่สืบค้นได้จะเป็นเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ที่สร้างด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว บริการนี้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากสร้างและแก้ไขง่าย ผู้คนหรือหน่วยงานต่างๆ จึงนิยมนำเสนอข้อมูลหรือขายสินค้าด้วยบริการนี้  การเข้าถึงข้อมูลแต่ละแห่งเปรียบเสมือนการเยี่ยมบ้านของแต่ละคนเราจึงมักได้ยินคำว่า โฮมเพจ (Homepage) หรือบ้านของแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งและสามารถเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บเพจ (Webpage) อื่นๆได้อีก
Web Sites ที่น่าสนใจ
     1.เว็บไซต์ทางการศึกษา
       2.  เว็บไซต์สำหรับสืบค้นข้อมูล
       3.  เว็บไซต์ที่รวบรวมนิตยสารคอมพิวเตอร์ไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง
               http://www.zdnet.com
       4.  ส่งบัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ในโอกาสต่างๆ
               http://www.thaimail.com
       5.  ข่าวที่น่าสนใจ 24 ชั่วโมง ทั่วโลก
               http://www.cnn.com
               http://www.mcot.net
        6.  พยากรณ์อากาศทั่วโลก
        7. แหล่งซอฟต์แวร์ฟรี ที่น่าสนใจ
              http://www.thaiware.com
              http://www.easyhome.in.th
              http://www.download.com
         8. ดนตรี
              http://www.musiccyber.com
              http://www.eotoday.com
         9. ตัวอย่างภาพยนตร์
              http://www.papayont.com

         10. คอมพิวเตอร์ เทคนิค และการใช้งาน
การสนทนาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

          ไออาร์ซี (Internet Relay Chat : IRC) เป็นกลุ่มโปรแกรมสำหรับสนทนาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการส่งข้อความ (message) จากเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ทันที กลุ่มสนทนาอาจมีมากกว่า 2 คนขึ้นไป โปรแกรมไออาร์ซี จะแสดงให้ทราบว่ามีใครบ้างกำลังร่วมสนทนากันอยู่ ใครบ้างเข้ามาใหม่ หรือใครบ้างที่กำลังออกจากระบบไออาร์ซีเป็นกลุ่มโปรแกรมที่พัฒนามาจากพื้นฐานของโปรแกรม Talk บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) และนิยมเรียกกันว่า Chat ปัจจุบันมีการพัฒนาโปรแกรมสนทนาผ่านเครือข่ายมากขึ้นและหลายรูปแบบ เช่น โปรแกรมไอซีคิว (ICQ) , โปรแกรมเพิร์ช (Pirch), โปรแกรมไมโครซอฟท์ เมสเสจ (Microsort Message)เป็นต้น การสนทนาอีกแบบหนึ่งที่เรามักพบ บนอินเตอร์เน็ต คือ เว็บบอร์ด (Webboard) หมายถึง กระดานข่าว ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเขียนข้อความของตนเอง ไปวางไว้ที่บอร์ดตามหัวข้อที่สนใจ เมื่อมีผู้อื่นอ่านพบและสนใจตอบคำถามหรือสนทนาด้วย ก็จะเขียนข้อความของตนส่งไปไว้บ้าง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตขึ้น

จรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ

             1.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น

          2.   ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น

          3.   ต้องไม่สอดแนม หรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น

          4.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

          5.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

          6.   ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธ์

          7.   ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

          8.   ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

          9.   ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ

          10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท

          จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเตอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝัง กฎเกณฑของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ และเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจนเช่น หากปฏิบัติเช่นไรจะถูกคัดชื่อออกจากการเป็นผู้ใช้เครือข่ายอนาคตของการใช้เครือข่ายยังมีอีกมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สังคมสงบสุข และหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้



            ข้อควรระวัง

           1.  อย่าเชื่อผู้สนทนาที่เราไม่รู้จัก

           2.  อย่าบอกชื่อที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์จริงของผู้ใช้ให้กับคู่สนทนาที่ไม่รู้จักกันมาก่อน






  วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต


        การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router   สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อ
ผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการ
เชื่อมโยง


รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต


การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้







องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล

              1. โทรศัพท์
              2. เครื่องคอมพิวเตอร์
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
              4. โมเด็ม (Modem)


          2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต                   แบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต







 การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)


         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์
โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

         2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)

            1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
            2. GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับ
อินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
           3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สาย
ความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่อ
อินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
           4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้
้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี


การใช้บริการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

1.การขอมีบัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์








หน้าต่าง เมื่อคลิกเข้าไปลงทะเบียน  กรอกรายละเอียด ง่ายๆ  
เมื่อคลิกลงทะเบียนเข้าไปแล้ว ให้สังเกตขวาบน มีข้อความว่า  " ฉันพร้อมแล้ว ไหนล่ะบัญชีของฉัน" คลิกเข้าไปเลย เท่านี้เรียบร้อย






หน้าตาของเมล  เรียบง่าย  ให้สังเกต  บนสุด  มีช่องแบบฟอร์ม ค้นหาจดหมาย เป็นการเสิร์ซหาจดหมาย  ง่ายๆ ไม่ต้องจัดหมวดหมู่ ใช้ระบบค้นหา รายแรกของโลก
ติดดาว หมายถึงจดหมายที่สำคัญ ก็ติดดาวซะ
การลบเมล  ไม่ต้องลบ เพียงแต่ย้ายลงไปเก็บไว้ในถังขยะ เท่านั้นเอง






หน้าตาของหน้าต่างที่ใช้เขียนจดหมาย

การจัดการ Accounts ของเรา เช่น เปลี่ยนรหัส เปลี่ยนชื่อ สารพัดเมนู เข้าที่ https://www.google.com/accounts/ โดยใช้ชื่อผู้ใช้เป็นเมลเต็มเช่น xxxx@gmail.com  รหัสก็คือ รหัสที่เข้าเมล   เมื่อไม่ต้องการใช้เมลแล้วก็ช่วย Delete Account ทิ้งด้วย



2.การเขียนและส่งจดหมายในบัญชีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์





เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วจะพามายังหน้ากล่องจดหมาย ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่นมากมาย มีองค์ประกอบที่
สำคัญดังนี้














  •  เมนูด้านซ้าย: กดลิงค์ กล่องจดหมายที่เมนูด้านซ้าย เมนูด้านซ้ายนี้เป็นส่วนที่เป็นโครงสร้างของบัญชีในการจัดเก็บข้อมูล นอกจากกล่องจดหมาย แล้วยังมีกลุ่มของจดหมายดังนี้
    • ติดดาว: คือรายการจดหมายที่เลือกให้ติดดาวไว้เพื่อจัดแยกหมวดหมู่ของจดหมาย
    • การแชท: คือรายการการสนทนาผ่าน Google Talk ที่ผ่านมาแล้ว
    • จดหมายที่ส่งแล้ว: คือรายการจดหมายที่ถูกส่งออกไปแล้ว
    • ร่างจดหมาย: คือรายการจดหมายที่เขียนและบันทึกเป็นร่างจดหมายไว้
    • จดหมายทั้งหมด: คือรายการจดหมายทั้งหมดรวมทั้งที่เก็บลงฐานข้อมูล(Archive)ไว้ด้วย
    • จดหมายขยะ: คือรายการจดหมายที่ถูกตรวจสอบจากระบบว่าเป็น SPAM
    • ถังขยะ: คือรายการจดหมายที่ถูกลบ
  • การค้นหา: แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
    • ค้นหาจดหมาย: สามารถใช้ฟังก์ชั่นเพื่อค้นหาจดหมายได้โดยใส่ข้อความที่เฉพาะเจาะจงในการค้นหาแล้วกดปุ่ม ค้นหาจดหมาย
    • ค้นหาในเว็บ: สามารถใช้ฟังก์ชั่นเพื่อค้นหาข้อมูลในเว็บได้โดยใส่ข้อความที่เฉพาะเจาะจงในการค้นหาแล้วกดปุ่ม ค้นหาในเว็บ

การใช้ปริการทางอินเทอร์เน็ตแบบเครือข่ายสังคม (Social Network)

เครือข่ายสังคมที่มีผู้ใช้จำนวนมากและเป็นที่รู้จัก มีดังนี้
                1.เฟซบุ๊ก (อังกฤษ: Facebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมและเว็บไซต์ เปิดใช้งานเมื่อ กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ดำเนินงานและมีเจ้าของคือ บริษัท เฟซบุ๊ก (Facebook, Inc.) จากข้อมูล 4 ตุลาคม 2555 เฟซบุ๊กมีผู้ใช้ประจำ พันล้านกว่าบัญชี หรือคิดเป็นอัตราส่วน 1 ใน 7 ของคนทั้งโลก ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและ
 แลกเปลี่ยนข้อความ รวมถึงได้รับแจ้งโดยทันทีเมื่อพวกเขาปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ อื่น ๆ ชื่อของเฟซบุ๊กนั้นมาจากชื่อเรียกภาษาปากของสมุดที่ให้กับนักเรียนเมื่อเริ่มแรกเรียนในสถาบันอุดมศึกษา ที่มอบให้โดยคณะบริหารมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถรู้จักผู้อื่นได้ดีมากขึ้น เฟซบุ๊กอนุญาตให้ใครก็ได้เข้าสมัครลงทะเบียนกับเฟซบุ๊ก โดยต้องมีอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป





            2.วิกิพีเดีย เป็นโครงการสารานุกรมเสรี ซึ่งร่วมกันสร้างขึ้นโดยผู้ใช้วิกิพีเดีย เป็นเว็บไซต์แบบพิเศษซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ลักษณะการร่วมมือกันแก้ไขเป็นไปได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเรียกว่า วิกิ มีหลายคนร่วมปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนั้นจะถูกบันทึกไว้ในประวัติของหน้าและหน้าปรับปรุงล่าสุด





       3.ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือ ทวีต (tweet - เสียงนกร้อง) ทวิตเตอร์ก่อตั้งขึ้นโดย แจ็ก คอร์ซีย์ ,บิซ สโตน และ อีวาน วิลเลียมส์ เจ้าของบริษัท Obvious Corp ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006










4.ยูทูบ ตามสำเนียงอเมริกัน หรือ ยูทิวบ์ ตามสำเนียงบริเตน (อังกฤษ: YouTube; เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈjuːˌtjuːb (สำเนียงบริเตน), /-tuːb (สำเนียงอเมริกัน)/เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดและแลกเปลี่ยนคลิปวิดีโอผ่านทางเว็บไซต์ ก่อตั้งเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548โดย แชด เฮอร์ลีย์สตีฟ เชง และ ยาวีด คาริม อดีตพนักงานบริษัทเพย์พาล ในปัจจุบันยูทูบมีพนักงาน 67 คนและมีสำนักงานอยู่ที่ซานบรูโนในรัฐแคลิฟอร์เนีย ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิล






1.การค้นคว้าด้วยการใช้ Search Engine

การใช้งานงานอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้กันอย่างมาก จะได้แก่การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหาความรู้ แต่การเข้าเยี่ยมชมนั้น ในกรณีที่เรารู้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นมีชื่อว่าอะไร เนื้อหาของเว็บ มุ่งเน้นเกี่ยวกับสิ่งใด เราสาสามารถที่จะเข้าเยี่ยมชมได้ทันที่ แต่ในกรณีที่เราไม่ทราบชื่อเว็บเหล่านั้น แต่เรามีความต้องการที่จะค้นหาเนื้อหาบางอย่าง มีวิธีการจะเข้าสืบค้นข้อมูลได้ โดยการใช้ความสามารถของ Search Engine
Search Engine จะมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อโดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยเราจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่จะเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป





  2.สารบบเว็บ หรือ เว็บไดเรกทอรี (อังกฤษ: web directory) หมายถึงสารบบหนึ่งบนเวิลด์ไวด์เว็บ ที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์อื่นและแบ่งแยกหมวดหมู่ไว้สำหรับการเชื่อมโยงเหล่านั้น
สารบบเว็บไม่ใช่เสิร์ชเอนจิน และไม่แสดงรายการเว็บเพจจากคำหลัก (keyword) แทนที่จะเป็นเช่นนั้น สารบบเว็บจะแสดงรายการเว็บไซต์ตามหมวดหมู่และหมวดหมู่ย่อย ซึ่งการจัดหมวดหมู่นี้แบ่งตามประเภทของเว็บไซต์ทั้งเว็บ มากกว่าการแบ่งทีละหน้าหรือการแบ่งโดยกลุ่มของคำหลัก เว็บไซต์ต่างๆ มักจำกัดให้จัดอยู่ในหมวดหมู่เพียงไม่กี่หมวดหมู่เท่านั้น สารบบเว็บมักอนุญาตให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถเพิ่มรายชื่อเว็บไซต์ได้โดยตรง และมีผู้แก้ไขกลั่นกรองข้อมูลเพิ่มเติมอีกชั้นหนึ่ง
3. Hybrid Search Engine : เป็นเครื่องมือค้นหาที่เป็นลูกผสมระหว่าง Search Engine กับ Web Directory ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่หลากหลายมากขึ้น
4. META Search Engine : เป็น Search Engine ชนิดหนึ่งที่ไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง แต่จะเป็นผู้ที่ส่งข้อความที่ต้องการค้นหาไปยัง Search Engine ตัวอื่นหลาย ๆ ตัวพร้อมกันแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาสรุปให้มีความกระชับทำให้ได้ผลลัพธ์ที่หลากหลาย โดยไม่จำเป็นจะต้องไปเสียเวลาค้นหาตาม Search Engine ทีละตัว เช่น www.ask.com
5. Specific Task Search Engine : เป็นซอฟต์แวร์หรือบริการที่ให้บริการค้นหาข้อมูลเฉพาะประเภทที่อยู่ในสภาวะจำกัดเท่านั้น เช่น www.amazon.com จะมีเครื่องมือสืบค้นหาหนังสือหรือสินค้าที่สามารถค้นหาได้เฉพาะในร้านของตนเองเท่านั้น, napster เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้บริการค้นหาเพลง เฉพาะผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกเท่านั้น, www.dejanews.com เป็นบริการค้นหาสารสนเทศจาก Newsgroups เท่านั้น  


เทคนิคการค้นหาข้อมูลความรู้ทางอินเทอร์เน็ต


ชนิดของเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

1. กูเกิล (Google)                    2. ยาฮู (Yahoo)
3. เอ็มเอสเอ็น (MSN หรือ Bing)    4. เอโอแอล (AOL)
5. อาส์ก (Ask)                        6. ไป่ตู้ (Baidu) ระบบค้นหาข้อมูลของประเทศจีน
7. Cuil                                 8. ยานเดกซ์ (Yandex) ระบบค้นหาข้อมูลของรัสเซีย

คำอธิบายการค้นหาบางส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อการค้นหาข้อมูล

1. การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์เป้าหมาย
วิธีค้นหาเฉพาะเจาะจงเว็บไซต์เป้าหมายโดยกำหนด site: ชื่อ URL เช่น ถ้าผู้ใช้ต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการสอบ admission ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้พิมพ์ admission site:www.tu.ac.th
2. การค้นหา Link ต่างๆ ในเว็บไซต์เป้าหมาย
เมื่อเราต้องการค้นหาว่าในเว็บไซต์ที่เราสนใจนั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเว็บอื่นๆ หรือไม่ ก็สามารถทำได้โดยการค้นหาดังนี้ ให้พิมพ์ link: ชื่อ URL เช่น link:www.tu.ac.th
3. การค้นหาชนิดของนามสกุลของไฟล์
เราใช้คำค้นหาได้ดังนี้ filetype:ชื่อ นามสกุลไฟล์ เช่น หากต้องการค้นหา filetype ชนิดของ Microsoft Powerpoint 2007 ให้พิมพ์ filetype:pptx
4. การค้นหาอดีตที่เคยปรากฏของเว็บไซต์หรือข้อมูลบนเว็บไซต์เป้าหมาย ใน Google สามารเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ ประโยชน์ของ google cache คือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บไซต์ที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลก่อนถูกลบ
5. การค้นหา E-mail ของหน่วยงานหรือเว็บไซต์เป้าหมาย การค้นหาประเภทนี้จะทำให้เราได้รายชื่อของ E-mail หน่วยงานนั้นๆ ซึ่งอาจเป็นชื่อพนักงานคนหนึ่ง หรือชื่อกลุ่ม E-mail ของหน่วยงานหรือชื่อผู้ติดต่อเว็บไซต์นั้นๆ โดยใช้การค้นหาว่า @ ตามด้วยชื่อเว็บไซต์หน่วยงาน ยกตัวอย่างเช่น @mict.go.th
6. การค้นหาอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ การใช้เครื่องมือคำพูดได้ระหว่างคำที่เราต้องการค้นหาเฉพาะก็จะทำให้การค้นหานั้นเจาะจงมากขึ้น เช่น ค้นหาคำว่า “Social Media” ก็จะค้นหาเฉพาะคำที่เขียนแบบนี้โดยเฉพาะ

เทคนิคการค้นหาข้อมูลจาก Google ในเชิงลึก

1. ค้นหาดูเฉพาะ Title ของเว็บไซต์
เทคนิคการค้นหาดูเฉพาะ Title จะใช้คำว่า intitle: ตามด้วยชื่อข้อความที่ต้องการดู title วิธีนี้จะนิยมใช้กับการค้นหาข้อมูลเชิงลึกโดยเรียกว่า google hack
2. การค้นหา Password โดยใช้ google
เทคนิคการค้นหา Password นั้นจะใช้คำว่า filetype:lop inurl:”password.log” จะพบ password.log ที่เกิดขึ้นใน web server

การใช้คำสั่ง Boolean ในการช่วยค้นหาเบื้องต้น


1.And ใช้ในการกำหนดเพื่อค้นหาด้วยคำมากกว่าสองคำขึ้นไปที่อยู่ในเว็บไซต์เดียวกันการใช้งานก็ให้พิมพ์ And ลงระหว่างคำสองคำหรือระหว่างทุกคำที่ต้องการค้นหา เช่น sea AND phuket เป็นต้น บาง Search Engine ก็ใช้
2.   Or ใช้ในการกำหนดเพื่อค้นหาคำอย่างน้อยหนึ่งคำที่กำหนดต้องอยู่ในเว็บไซต์ที่ค้นหา ด้วยการใช้คำสั่ง OR ที่ระหว่างคำเช่น phuket or songkla เป็นต้น
3.      AND NOT ใช้สำหรับค้นหาเว็บไซต์ที่มีคำแรก (หน้า AND) แต่ต้องไม่มีคำที่สอง (หลัง NOT) เช่น phuket AND NOT songkla เป็นต้น บาง Search Engine ใช้เครื่องหมาย แทนคำสั่ง AND NOT เช่น phuket –songkla เป็นต้น
4.  เครื่องหมาย “ ” ใช้สำหรับการค้นหาเว็บไซต์ที่มีคำที่กำหนดทั้งประโยค เช่น “Sunset at phuket” เป็นต้น
5. เครื่องหมาย ( ) ใช้แบ่งคำสั่ง Boolean ออกเป็นส่วน ๆ เช่น kayak AND (gear OR equipment) ผลลัพธ์ที่ได้คือ เว็บไซต์ที่มีคำว่า kayak และคำว่า gear หรือคำว่า equipment หรือ ทั้ง gear และ equipment อยู่ด้วยเป็นต้น
6.ครื่องหมาย * ใช้สำหรับค้นหาเว็บไซต์ที่มีส่วนหนึ่งของคำที่กำหนด และอาจจะตามด้วยตัวอักษรอื่นก็ได้ เช่น kayak* ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปได้ทั้งเว็บไซต์ที่มีคำว่า kayak, kayaks, kayaked, kayaking และอื่น ๆ


ข้อควรปฏิบัติ สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

  ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย  เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด
  ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของ  เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์
  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก  การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง  ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
  การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ตเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข  Arlene H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก  จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้


จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษนีย์อิเล็กทรอนิกส์


             ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บ็อกซ์หรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย  ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพราะจดหมายมีการรับส่งโดยระบบ ซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่ บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด  จะเป็นผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธการรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็มดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภายในโควต้า ที่กำหนดลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก็ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mail box) มีจำนวนน้อยที่สุดให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลังพึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย


จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา


บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์หลายคำสั่งเช่น write, talk หรือมีการสนทนา เป็นกลุ่มเช่น IRC เป็นต้น ในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนาตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญได้แก่
ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย  หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้
ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้  เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้
หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว
ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น



จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์


                ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิสว์  (UseNet News) ระบบสมาชิกแจ้งข่าวหลายสมาคม บอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing  lists ผู้เสนอ ข่าวและผู้อภิปรายเรื่อง    ต่าง ๆ ที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่นข่าวบนยูสเน็ตนิวส์แต่ละกลุ่มเมื่อส่งออกจะกระจาย ไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ทั่วโลก ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดาษ   ข่าวจะต้องเคารพกฏกติกามารยาทโดยเคร่งครัดข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่
ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้
ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง
ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า
ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือหรือเขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ
จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล
ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก
ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่อง การค้า
การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ  ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
ในการทดสอบการส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก
หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกนหรือการแสดงความไม่พอใจในการเน้น คำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความแทน
ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง
ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคำเฉพาะคำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว
ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่นเช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา
ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น
IMHO-in  my  humble /  honest  opinion
FYI-for  your  information
BTW-by  the  way
การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวและระลึกเสมอว่าข่าวที่เขียนหรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก
ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น
ในการบอกรับข่าวด้วย mailing  list  และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซีหรือลบออกจาก mail box และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก

บัญญัติ 10 ประการ 

     ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ
1.สูเจ้าต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2.สูเจ้าต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.สูเจ้าต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4.สูเจ้าต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.สูเจ้าต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.สูเจ้าต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.สูเจ้าต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.สูเจ้าต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. สูเจ้าต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10.สูเจ้าต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ  กติกามารยาท
     จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจนเพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน